ททบ.5 กับ Digital Network Provider

ฝ่ายเทคนิคและออกอากาศ
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5

 

1. ข้อมูลหน่วยงาน

ชื่อหน่วยงาน : กองทัพบก โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.)
ที่อยู่หน่วยงาน : 210 ถนน พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
ประเภทใบอนุญาต

: ประกอบกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล

ใบอนุญาตเลขที่

: B1-N20001-0001-56   /  B1-N20001-0005-56

บุคคลผู้รับผิดชอบ

: พลโท ชาตอุดม     ติตถะสิริ

  ตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
  เบอร์โทรศัพท์ 02-2710060-9 ต่อ 92215
 

2. ข้อมูลด้านเทคนิคและเทคโนโลยีในการให้บริการ

     2.1 สถาปัตยกรรมโครงข่าย (Network Architecture)
รูปสถาปัตยกรรมโครงข่ายในการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ฯ ของ ททบ.
สถานีแม่ข่าย (Central Headend) ตั้งอยู่ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เลขที่ 210 ถนน พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
 
     2.2 แนวทางการให้บริการผังรายการอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Program Guide: EPG)
           ททบ. จะเป็นผู้ให้บริการระบบส่วนกลางในการรองรับการให้บริการ EPG ของทุกๆ โครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งระบบมีการรองรับการประมวลผลและแสดงผังรายการอิเล็กทรอนิกส์จากตาราง DVB SI EIT p/f และตาราง DVB SI EIT Scheduleตามมาตรฐาน ETSI EN 300 468 โดยการแสดงผลต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังนี้
(1) วัน เดือน ปี และเวลาปัจจุบัน
(2) เวลาเริ่มรายการปัจจุบัน (now/present) และรายการถัดไป (next/follow)
(3) เวลาจบรายการปัจจุบัน (now/present) และรายการถัดไป (next/follow)
(4) หมายเลขช่อง (LCN)

(5) ชื่อตอน และ/หรือ ชื่อเรื่องของรายการ

(6) คําอธิบายโดยย่อ
(7) ประเภทรายการ
 
     2.3 แนวทางการให้บริการการปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบัน (System Software Update: SSU)
           ททบ. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ฯ จะจัดให้มีการปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบัน (System Software Update) โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานของ ETSI TS 102 006 V1.3.2 (2008-07) : Digital Video Broadcasting (DVB) ; Specification for System Software Update in DVB Systems และเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้กำหนดไว้ในประกาศมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (กสทช. มส. 4001-2555)
 
     2.4 แนวทางการให้บริการเตือนภัยในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน (Emergency Warning System : EWS)
           ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน อันเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิ หรือเสรีภาพของประชาชนในวงกว้าง เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินนั้น ททบ. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ จะจัดให้มีการเตือนภัยในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน (Emergency Warning System) การให้บริการดังกล่าวนี้ให้เป็นไปตามประกาศมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (กสทช. มส. 4001-2555) และประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน
 
     2.5 ข้อกำหนดทางเทคนิค ณ จุดที่มีการใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายฯ
           ในการใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก นั้น ททบ. ได้กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคในการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (Service Provider) กับผู้ให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ของ ททบ. (Network Provider) โดยสามารถเข้าใช้โครงข่ายหรือเชื่อมต่อโครงข่ายฯ ได้ที่สถานีแม่ข่าย (Central Headend) ซึ่งมีรายละเอียดทางเทคนิคเบื้องต้น ดังนี้
           1. สัญญาณภาพ (Video Input)
                    สัญญาณภาพขาเข้า ณ จุดเชื่อมต่อโครงข่ายต้องเป็นสัญญาณภาพดิจิตอลเชื่อมต่อแบบ Serial Digital Interface : SDI โดยใช้หัวต่อแบบ SMPTE 259M
           2. มาตรฐานสัญญาณภาพ
                    2.1 มาตรฐานความคมชัดปกติ (Standard Definition – SD) กำหนดให้มีความละเอียด 720x576 แบบ interlace (576i) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 25 ภาพต่อวินาที และอัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9 และ 4:3
                    2.2 มาตรฐานความคมชัดสูง (High Definition – HD) กำหนดให้มีความละเอียด1920x1080 แบบinterlace (1080i) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 25 ภาพต่อวินาที และอัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9 หรือมีความละเอียด 1280x720 แบบ progressive (720p) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 50 ภาพต่อวินาที และอัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9
           3. สัญญาณเสียงขาเข้า (Audio Input)
                    สัญญาณเสียงขาเข้า ณ จุดเชื่อมต่อโครงข่ายต้องมีจำนวนช่องสัญญาณเสียง 1 Stereo หรือ Dual mono การเชื่อมต่อต้องเป็นเสียงระบบดิจิตอล (DIGITAL AUDIO INTERFACE) หรือ AES-EBU ตามมาตรฐาน European Broadcasting Union : EBU
                    ทั้งนี้ มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิตอลสำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านเทคนิคที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติประกาศกำหนด
 

3) แผนการติดตั้งสถานีโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (สถานีหลัก)

ลำดับ ชื่อสถานี แผนการขยายโครงข่าย
แผนงานของ กสทช.

1.

กรุงเทพมหานคร 1 เม.ย.57
2. นครราชสีมา
3. เชียงใหม่
4. สงขลา
5. อุบลราชธานี 1 พ.ค.57
6. สุราษฎร์ธานี
7. ระยอง
8. สิงห์บุรี 1 มิ.ย.57
คลอบคลุมครัวเรือนประชากร 51.38%
9. สุโขทัย
10. ขอนแก่น
11. ออุดรธานี
12. เชียงราย 1 ส.ค.57
13. สระแก้ว
14. นครสวรรค์
15. นครศรีธรรมราช 1 ต.ค.57
16. ภูเก็ต
17. ตรัง
18. ลำปาง
19. สกลนคร
20. ร้อยเอ็ด 1 ธ.ค.57
คลอบคลุมครัวเรือนประชากร 80%
21. สุรินทร์
22. น่าน
23. อุตรดิตถ์
24. ประจวบคีรีขันธ์
25. กาญจนบุรี 1 ก.พ.58
26. ชุมพร
27. ตราด
28. มุกดาหาร
29. ตาก
30. แม่ฮ่องสอน 1 เม.ย.58
31. ระนอง
32. เลย
33. ชัยภูมิ
34. เพชรบูรณ์
35. สตูล 1 มิ.ย.58
คลอบคลุมครัวเรือนประชากร 95%
36. แพร่
37. บึงกาฬ
38. ศรีสะเกษ
39. ยะลา
 

4) ขั้นตอนการเข้าใช้หรือเชื่อมต่อโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล Platform ที่ให้บริการ

     ททบ. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล จะจัดเตรียมการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินโดยใช้มาตรฐานของ Second Generation Digital Terrestrial Television Broadcasting System (DVB-T2) โดยมีคุณลักษณะทางเทคนิคในการส่งสัญญาณดังนี้
     คุณลักษณะทางเทคนิคในการส่งสัญญาณ
     1. การส่งสัญญาณ (Transmission)
             1.1 โครงสร้างเฟรม (Framing Structure), การเข้ารหัสช่องสัญญาณ (Channel Coding) และการมอดูเลตสัญญาณ (Modulation) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ETSI EN 302 755 V1.3.1 (2012-04) : Digital Video Broadcasting (DVB) ; Frame structure channel coding and modulation for a second generation digital terrestrial television broadcasting system (DVB-T2)
             1.2 การใช้งานเมกะเฟรมสำหรับการซิงโครไนซ์โครงข่ายแบบความถี่เดียว (Single Frequency Network: SFN) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ETSI TS 101 191 V1.4.1 (2004-06): Digital Video Broadcasting (DVB) ; DVB mega-frame for Single Frequency Network (SFN) synchronization
             1.3 การประยุกต์ใช้ระบบส่งสัญญาณภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลตามมาตรฐานในข้อ 1.1 และข้อ 1.2 สามารถอ้างอิงตามเอกสาร ETSI TS 102 831 V1.2.1 (2012-08) : Digital Video Broadcasting (DVB); Implementation guidelines for a second generation digital terrestrial television broadcasting system (DVB-T2)
     2. การมัลติเพล็กซ์สัญญาณ (Multiplexing)
             2.1 ข้อกำหนดสำหรับข้อมูลข่าวสารการให้บริการ (Service Information: SI) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ETSI EN 300 468 V1.13.1 (2012-08) : Digital Video Broadcasting (DVB) ; Specification for Service Information (SI) in DVB systems
            2.2 การประยุกต์ใช้งานข้อกำหนดสำหรับข้อมูลข่าวสารการให้บริการตามข้อ 2.1 สามารถอ้างอิงตามเอกสาร ETSI TS 101 211 V1.11.1 (2012-04): Digital Video Broadcasting (DVB) ; Guidelines on implementation and usage of Service Information (SI)
            2.3 ข้อกำหนดสำหรับการกระจายข้อมูล (Data Broadcasting) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ETSI EN 301 192 V1.4.2 (2008-04): Digital Video Broadcasting (DVB) ; DVB specification for data broadcasting
            2.4 การประยุกต์ใช้งานข้อกำ หนดสำ หรับการกระจายข้อมูลตามข้อ 2.3 สามารถอ้างอิงตามเอกสาร ETSI TR 101 202 V1.2.1 (2003-01): Digital Video Broadcasting (DVB) ; Implementation guidelines for Data Broadcasting
            2.5 ระบบการเข้ารหัสสัญญาณสำหรับกระแสขนส่ง MPEG-2 (MPEG-2 Transport Stream) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ETSI TS 101 154 V1.10.1 (2011-06) : Digital Video Broadcasting (DVB); Specification for the use of Video and Audio Coding in Broadcasting Applications based on the MPEG-2 Transport Stream กสทช. มส. 4001-2555 หน้า 3 จาก 3รวมทั้งสามารถอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO/IEC 13818-1:2007 : Information technology - Generic coding of moving pictures and associated audio information: Systems
           2.6 กรณีการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลแบบโครงข่ายความถี่เดียว และ/หรือกรณีการให้บริการแบบ Multiple PLP (Multiple Physical Layer Pipe) การต่อร่วมกับอุปกรณ์มอดูเลตสัญญาณ (Modulator Interface: T2-MI) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน ETSI TS 102 773 V1.3.1 (2012-01): Digital Video Broadcasting (DVB); Modulator Interface (T2-MI) for a second generation digital terrestrial television broadcasting system (DVB-T2)
           ทั้งนี้การให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของ ททบ. จะเป็นไปตามประกาศมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. มส. 4001-2555) กำหนดไว้
 
รูปแบบของสัญญาณที่มีการรับส่ง
[1] สัญญาณดิจิตอลวิดีโอขาเข้าอุปกรณ์บีบอัดสัญญาณ (Compression Equipment) Serial Digital Interface : SDI โดยมีหัวต่อเป็นแบบ SMPTE 259M
[2] สัญญาณ MPEG2 Transport Stream ขาออกของอุปกรณ์บีบอัดสัญญาณ (Compression Equipment) ซึ่งเป็นแบบ Asynchronous Serial Interface : ASI ตามมาตรฐาน ETSI TR 101 891 V1.1.1 (2001-02)
[3] สัญญาณ MPEG2 Transport Stream ขาออกของอุปกรณ์มัลติเพล็กซ์สัญญาณ (Statistical Multiplexer) ซึ่งเป็นแบบ Asynchronous Serial Interface : ASI ตามมาตรฐาน ETSI TR 101 891 V1.1.1 (2001-02)
[4] สัญญาณดาวเทียมขาส่งและขารับในการเชื่อมโยงสัญญาณทั้งหมดของระบบเพื่อนำไปออกอากาศที่ปลายทางในเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน สัญญาณดาวเทียมเป็นสัญญาณความถี่วิทยุ Radio Frequency : RF ในย่าน UHF
[5] สัญญาณดาวเทียมขารับในการเชื่อมโยงสัญญาณช่องรายการทั้งหมดจากส่วนกลางมายังเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน สัญญาณดาวเทียมขารับนี้เป็นสัญญาณความถี่วิทยุ Radio Frequency : RF ในย่าน L-band โดยใช้คอนเน็คเตอร์แบบ F-Type 75 Ohm
[6] สัญญาณขาออกจากอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม ซึ่งเป็นสัญญาณวิดีโอที่อยู่ในรูปแบบของอินเตอร์เนทโพรโทคอล (Internet Protocol : IP) โดยใช้คอนเน็คเตอร์แบบ RJ-45
[7] สัญญาณขาออกจากอุปกรณ์ ReMultiplexing ซึ่งเป็นสัญญาณวิดีโอที่อยู่ในรูปแบบของอินเตอร์เนทโพรโทคอล (Internet Protocol : IP) โดยใช้คอนเน็คเตอร์แบบ RJ-45
[8] สัญญาณ MPEG2 Transport Stream ขาออกของอุปกรณ์ T2 Gateway ซึ่งเป็นแบบ Asynchronous Serial Interface : ASI ตามมาตรฐาน ETSI TR 101 891 V1.1.1 (2001-02)
[9] สัญญาณขาออกจาก T2 Gateway เพื่อใช้เชื่อมต่อไปยังสถานีเสริมที่ไม่สามารถรับสัญญาณออกอากาศโดยตรงจากสถานีส่งสัญญาณหลัก(Off AIR)ได้ โดยสัญญาณดังกล่าวเป็นสัญญาณวิดีโอที่อยู่ในรูปแบบของอินเตอร์เนทโพรโทคอล (Internet Protocol : IP) โดยใช้คอนเน็คเตอร์แบบ RJ-45
[10] สัญญาณออกอากาศตรงจากสถานีส่งสัญญาณหลัก(Off AIR) ซึ่งใช้ในการเชื่อมโยงสัญญาณออกอากาศไปยังสถานีเสริมและส่งตรงไปยังผู้ชมทางบ้าน ซึ่งสัญญาณดังกล่าวเป็นสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุในย่านความถี่ UHF
[11] สัญญาณดิจิตอลวิดีโอขาเข้าอุปกรณ์บีบอัดสัญญาณ (Compression Equipment) Serial Digital Interface : SDI โดยมีหัวต่อเป็นแบบ SMPTE 259M
[12] สัญญาณขาออกจากอุปกรณ์ Multiplexing ซึ่งเป็นสัญญาณวิดีโอที่อยู่ในรูปแบบของอินเตอร์เนทโพรโทคอล (Internet Protocol : IP) โดยใช้คอนเน็คเตอร์แบบ RJ-45
   
จุดเชื่อมต่อในการรับส่งสัญญาณ
     ททบ. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล จะจัดเตรียมจุดเชื่อมต่อสัญญาณเพื่อให้บริการกับผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์จากสำนักงาน กสทช. แล้วเท่านั้น โดยสามารถเข้าใช้โครงข่ายหรือเชื่อมต่อโครงข่ายฯ ได้ที่สถานีแม่ข่าย (Central Headend) ซึ่ง ททบ. กำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคในการเชื่อมต่อโครงข่ายไว้ดังนี้
 
คุณลักษณะทางเทคนิคในการเชื่อมต่อโครงข่าย
1. สัญญาณภาพ (Video Input)
     สัญญาณภาพขาเข้า ณ จุดเชื่อมต่อโครงข่ายต้องเป็นสัญญาณภาพดิจิตอลเชื่อมต่อแบบ Serial Digital Interface : SDI โดยใช้หัวต่อแบบ SMPTE 259M
2. มาตรฐานสัญญาณภาพ
     2.1 มาตรฐานความคมชัดปกติ (Standard Definition – SD) กำหนดให้มีความละเอียด 720x576 แบบ interlace (576i) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 25 ภาพต่อวินาที และอัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9 และ 4:3
     2.2 มาตรฐานความคมชัดสูง (High Definition – HD) กำหนดให้มีความละเอียด1920x1080 แบบinterlace (1080i) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 25 ภาพต่อวินาที และอัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9 หรือมีความละเอียด 1280x720 แบบ progressive (720p) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 50 ภาพต่อวินาที และอัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9
3. สัญญาณเสียงขาเข้า (Audio Input)
     สัญญาณเสียงขาเข้า ณ จุดเชื่อมต่อโครงข่ายต้องมีจำนวนช่องสัญญาณเสียง 1 Stereo หรือ Dual mono การเชื่อมต่อต้องเป็นเสียงระบบดิจิตอล (DIGITAL AUDIO INTERFACE) หรือ AES-EBU ตามมาตรฐาน European Broadcasting Union : EBU
     ทั้งนี้ มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลสำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านเทคนิคที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติประกาศกำหนด
 
คุณภาพของสัญญาณภาพ (Picture Quality)
      ททบ. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล จะจัดให้มีการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์โดยมีมาตรฐานของสัญญาณภาพ และมีคุณภาพของสัญญาณภาพเป็นไปตามมาตรฐานของ ISO/IEC 14496-10 : 2012 : Information technology -- Coding of audio-visual objects -- Part 10: Advanced Video Coding (MPEG 4 AVC/H.264) และให้เป็นไปตามประกาศมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (กสทช. มส. 4001-2555) ในหัวข้อที่ 4. มาตรฐานทางเทคนิค หรือให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้กำหนดไว้
      ทั้งนี้ ททบ. จะดำเนินการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล อย่างต่อเนื่องโดยมีคุณภาพของการให้บริการ (Service-level Agreement, SLA) เป็นไปตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติประกาศกำหนด
 
ขั้นตอนการเข้าใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล
      ผู้ที่ประสงค์จะขอใช้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของ ททบ. จะต้องดำเนินการยื่นแบบคำขอใช้บริการและเอกสารประกอบการพิจารณาตามขั้นตอนที่ ททบ. ได้กำหนดไว้ดังรายละเอียดด้านล่างนี้
 

5) เจ้าหน้าที่ประสานงานในการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ของ ททบ.

     1. พ.อ.ยศพล มีพรหม ตำแหน่ง ผอ.ทน.ททบ. เบอร์มือถือ 081-9083451
     2. พ.อ.บัณฑิต แสงอ่อน ตำแหน่ง รอง ผอ.ทน.ททบ. เบอร์มือถือ 081-9391917

     3. นายศักรินทร์ จันทรเสนา ตำแหน่ง หน.คภ.ทน.ททบ. เบอร์มือถือ 083-3455958

     4. นายเฉลิมชัย แก้วเฉลิม ตำแหน่ง วิศวกร คภ.ทน.ททบ. เบอร์มือถือ 0813723941 โทรสาร 02-2791211 E-mail k.chalermchai@hotmail.com
 

6) บริการช่องสัญญาณดาวเทียมความถี่ซีแบนด์และเคยูแบนด์ ตามข้อกำหนด Must Carry ของ กสทช.

     - กำลังรอความชัดเจนจาก กสทช.
 

7) บริการเสริมอื่นๆ

     - Call center สำหรับสอบถามข้อมูลทางด้านเทคนิค และ แก้ไขปัญหาในการรับชม ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-6152294 - 5
 
------------------------------------