ข้อกำหนดและมาตรฐานด้านเทคนิคการผลิตรายการโทรทัศน์

 

ปัจจุบัน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ยังคงแพร่ภาพออกอากาศรายการต่างๆ ในระบบมาตรฐานปกติ หรือ Standard Definition (SD) แต่ขอให้ผู้ร่วมผลิตรายการ ปรับอัตราส่วนให้เป็น 16:9 และในเดือนมีนาคม 2557 เป็นต้นไป จะเริ่มแพร่ภาพออกอากาศ ที่รองรับระบบภาพที่มีความคมชัดสูง หรือ High Definition (HD) และการผลิตรายการด้านต่างๆ จึงมีทิศทางสู่ระบบภาพ HD ทั้งหมดในอนาคต ในด้านของผู้ร่วมผลิตรายการ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการผลิตรายการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานี โดยมีคุณภาพและมาตรฐานทางเทคนิคเป็มาตรฐานเดียวกัน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก จึงได้สร้างข้อกำหนดและมาตรฐานทางเทคนิค ในการผลิตรายการโทรทัศน์ แบบความคมชัดสูง (High Definition : HD) เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติเดียวกัน ดังนี้

 

ข้อกำหนดทางเทคนิคการผลิตรายการในระบบภาพ High Definition (HD)

รายการที่ผลิตในระบบ High Definition (HD) หมายถึง รายการที่ผลิตโดยการถ่ายทำด้วยกล้องถ่ายโทรทัศน์ ที่มีคุณสมบัติ คือ หน่วยรับภาพ Sensor ขนาด 3 CCD หรือ CMOS Chip และมีพื้นที่ของภาพเต็มในอัตราส่วน 16:9 (แนวนอน : แนวตั้ง) ใช้มาตรฐานการบันทึกภาพด้วยระบบ 1080i25 (50 Fields/Second) และมีจำนวน Pixel Frame ขนาดไม่ต่ำกว่า 1920 x 1080 Pixel เมื่อนำรายการที่บันทึกได้เข้าสู่ขบวนการ Post Production จะต้องดำเนินการตัดต่อภาพด้วย Profile ที่ไม่ต่ำกว่า 4:2:2 ที่ 8 Bits โดยผลผลิตของรายการที่ได้ เพื่อนำส่งมอบให้สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกนั้น สามารถจัดเก็บในวัสดุบันทึก ต่อไปนี้

  • กรณีเป็นเทปแบบมาตรฐาน คือ HDCAM
  • กรณีเป็นหน่วยความจำอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดเก็บในรูปของวิดีโอไฟล์ คือ P2 Card และ XDCAM (ในเดือนมีนาคม 2557) โดยที่วิดีโอไฟล์ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
    • รูปแบบการบีบอัดภาพ (Video Codec) : AVC Intra 100 หรือ XDCAM HD
    • รูปแบบการบีบอัดเสียง (Audio Codec) : PCM (16 หรือ 24 Bits ที่ 48 KHz.) 2 หรือ 4 ช่องเสียง
    • รูปแบบ File Container หรือ Wrapper : *.MXF

กระบวนการผลิตรายการ ที่ไม่ถือว่าเป็นการผลิตรายการโทรทัศน์ในระบบภาพ HD ได้แก่

  • รายการถ่ายทำและบันทึกภาพด้วยระบบภาพ SD แล้วแปลงขึ้นมาเป็นระบบภาพ HD
  • บันทึกรายการด้วยกล้อง HDV ซึ่งมีอัตราข้อมูลของภาพที่ต่ำกว่า 35 Mbps
 

ข้อกำหนดทางด้านภาพ

ภาพของรายการจะต้องมีความคมชัด มีสีสันที่เป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีผิวของมนุษย์ (Skin Tone) ที่ต้องมีสีสันที่ถูกต้อง ในทางเทคนิคแล้วระดับของสัญญาณภาพจะต้องมีระดับที่ได้คุณภาพมาตรฐาน โดย

  • ระบบ ภาพ HD อ้างอิงตามมาตรฐาน SMPTE292M/296M/299M
  • ระบบภาพ SD อ้างอิงตามมาตรฐาน SMPTE259M-C/272M-A หรือ ITU-R.BT656-4

ภาพของรายการ จะต้องไม่มีส่วนใดที่แสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติไปจากมาตรฐาน เช่น มีสีที่ผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานหรือธรรมชาติ มีระดับความมืดหรือความสว่างของภาพสูงมากผิดปกติ มีสัญญาณรบกวนปรากฏอยู่ในภาพจนอาจรบกวนสายตาในการชม ภาพที่มีการเคลื่อนไหวมีอาการภาพสะดุด ไม่มีความต่อเนื่อง เป็นต้น
ในระบบภาพ HD และ SD อัตราของการแสดงภาพต่อวินาที หรือ Frame Rate ที่ใช้เป็นมาตรฐานคือ 50 Field/Sec ซึ่งเป็นการแสดงภาพแบบ Interlace ซึ่งเทียบได้กับการสแกนภาพแบบ 25 Frame/Sec อัตราส่วนภาพ (Aspect Ratio) ของรายการที่ผลิตในแบบ SD เท่ากับ 4:3 และรายการที่ผลิตในแบบ HD เท่ากับ 16:9

ภาพต่อไปนี้ แสดงพื้นที่ Safe Area ของอัตราส่วนภาพ 4:3 บน 16:9

คำอธิบาย : เมื่อภาพรายการที่ผลิตในแบบ SD ด้วยสัดส่วน 4:3 ถูกนำเข้าสู่ระบบภาพ HD ที่มีอัตราส่วนภาพ 16:9 ภาพจะถูกบรรจุลงบน Pixel ของแต่ละเส้นในแนวนอน ดังนี้

Format

Line Pixel

1080i 16:9 (Pillar Box)

241 -1680 (1440 Pixel)

 

Safe Action Area คือ พื้นที่ส่วนสำคัญ ที่ต้องการให้ภาพส่วนนี้ปรากฎบนจอโทรทัศน์ ซึ่งจะมีขนาด 93% ของขนาดภาพในแนวนอน และแนวตั้ง

Format

Production Aperture

Safe Action Area

4:3 Protected Safe Action Area

576i

720x576

670x536

-

1080i

1920x1080

1786x1004

1296x972

 
Safe Graphic Area คือ พื้นที่ที่เผื่อไว้สำหรับการซ้อนแถบภาพ หรือข้อมูลตัวอักษร ซึ่งจะมีขนาด 90% ของขนาดภาพในแนวนอนและแนวตั้ง

Format

Production Aperture

Safe Graphic Area

4:3 Protected Safe Action Area

576i

720x576

648x518

-

1080i

1920x1080

1728x972

1296x972

 
Safe Caption Area คือพื้นที่ที่เผื่อไว้สำหรับการใส่ค่า Close Caption หรือ Sub Title โดยต้องถูกออกแบบให้จำกัดที่ 80% ของขนาดภาพในแนวนอนและแนวตั้ง

Format

Production Aperture

Safe Caption Area

4:3 Protected Safe Action Area

576i

720x576

576x460

-

1080i

1920x1080

1536x864

1152x864

 

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ร่วมผลิตรายการ และหรือผู้ที่สนใจทั่วไป คงจะได้รับประโยชน์และนำไปปรับใช้ในการผลิตรายการของท่าน ให้เกิดผลงานที่ดี มีคุณภาพต่อไปได้

 
-----------------------------